กลุ่มธุรกิจค้าปลีก ต้องการ Digital Transformation มากกว่าที่เคย

กลุ่มธุรกิจค้าปลีก ต้องการ Digital Transformation ด้วย Covid-19 ที่กระทบธุรกิจค้าปลีกอย่างรุนแรง จากมาตรการ lock down ต่างๆ ที่เกิดขึ้น ตอนนี้ กลุ่มธุรกิจค้าปลีก จำเป็นที่จะต้องทำ Digital Transformation มากกว่าที่เคยเป็นมาในอดีต ต้องเดี๋ยวนี้ ตอนนี้ ทันที

ตอนนี้ หลายมาตรการที่ออกมาให้เราปฏิบัติ ส่งผลกระทบต่อธุรกิจค้าปลีกมาก ไมว่าจะเป็น การจับสัมผัสสิ่งของ, การเว้นระยะห่าง, การกักตัวอยู่บ้าน โดยที่ไม่มีใครรู้ว่าจะยืดเยื้อไปอีกนานแค่ไหน อีกนานเท่าไร ดังนั้น กลุ่มธุรกิจค้าปลีก ก็ต้องไม่หยุด ที่จะเร่งผลักดัน Digital Transformation ให้มากขึ้นอย่างต่อเนื่องด้วยเช่นกัน เพื่อลดผลกระทบกับตัวเองให้น้อยที่สุด

ทาง TotalRetail ที่เป็นสื่อ ที่เกี่ยวข้องกับค้าปลีก ได้ออกบทความอธิบาย ผลกระทบต่อธุรกิจ และ แนวทางการออกแบบการทำ Digital transformation เอาไว้ ดังนี้

ทำไม กลุ่มค้าปลีก ต้องการ Digital Transformation มากกว่าที่เคยเป็นมา

การใช้ชีวิตหลัง Covid-19 จะเปลี่ยนไป

ตอนนี้ เราต้องเจอกับสถานการณ์ การจับจ่ายใช้สอยที่ลดลง, การเพิ่มขึ้นในการป้องกันตนเอง, มีความต้องการสินค้าที่เปลี่ยนไป, เริ่มมีแผนการออมเงิน, พฤติกรรม และ ช่องทางการสั่งซื้อที่เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้น โลกเราหลังจาก Covid จะเกิดกำลังซื้อผ่านช่องทาง online มากขึ้น และมีปฏิสัมพันธ์กับ brand ผ่านช่องทาง online มากขึ้น อย่างต่อเนื่อง

นี่จึงเป็นช่วงเวลาที่เหมาะมาก สำหรับการเริ่มต้น วางแผนเพื่อสร้างแนวทางการปฏิบัติงานและวิธีการทำกำไรในยุค Digital หลังจากที่ผ่านวิกฤตไป รวมไปถึงการกอบกู้ธุรกิจและการดูแลธุรกิจเพื่อให้พร้อมรับกับสถานการณ์ที่คาดไม่ถึง การปรับปรุงบางเรื่องจะช่วยสามารถสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าผ่านช่องทางดิจิตอลได้ รวมไปถึงการนำเสนอในรูปแบบใหม่และการลงทุนในข้อมูล เพื่อหาความต้องการที่แท้จริงของลูกค้าให้ได้ นี่ยังไม่นับรวมถึงการที่ให้พนักงานสามารถทำงานได้จากที่บ้านได้อีก 

ธุรกิจค้าปลีกจำเป็นจะต้องรู้ข้อมูลเชิงลึกที่เกี่ยวข้องกับ supply chain

วิกฤตในครั้งนี้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรง กับเครือข่าย Supply chain ทั่วโลก ค้าปลีกหลายธุรกิจได้รับผลกระทบเพราะว่าสิ่งที่เคยคาดการณ์เอาไว้ รวมไปถึงกำลังการผลิตต่างๆเปลี่ยนแปลงไปทั้งหมด ดังนั้นสิ่งที่ธุรกิจจะต้องทำก็คือการรู้สินค้าคงคลัง และวัตถุดิบรวม ไปถึงกำลังการสั่งซื้อจากช่องทางต่างๆ ทั้ง Offline , Online และการคาดการณ์ในช่องทางใหม่ เพื่อให้สามารถปรับแผนงานได้ 

ธุรกิจค้าปลีกที่มีช่องทาง Digital อยู่แล้วจะเติบโตต่อไป

ต้องบอกว่าธุรกิจไหนที่มีช่องทางดิจิตอลก่อนที่จะเกิดวิกฤติในครั้งนี้ ถือว่าได้เปรียบคู่แข่งอย่างมาก เนื่องจากลูกค้าไม่สามารถออกจากบ้านได้ ก็ทำอะไรไม่ได้มากกว่าใช้งาน Social หรือช่องทาง Digital ต่างๆดังนั้นธุรกิจจึงสามารถเอาตัวเองเข้าไปถึงลูกค้าได้ง่ายกว่าธุรกิจที่มีแต่ออฟไลน์อย่างเดียว 

สิ่งที่แนะนำให้ทำเพิ่มเติมก็คือ ถ้าคุณมีธุรกิจที่เป็นดิจิตอลอยู่แล้วอยากให้ทำการเก็บข้อมูลที่มีประโยชน์กับบริษัทมากขึ้น เพื่อจะได้สามารถใช้ประโยชน์จากข้อมูลนั้นในอนาคตได้ 

และอีกสิ่งที่อยากฝากเอาไว้สำหรับธุรกิจที่ยังไม่มีช่องทางดิจิตอลก็คือ คุณจะต้องเริ่มทำดิจิตอลทรานฟอร์เมชั่นได้แล้ว ควรจะต้องใช้เงินไปกับการลงทุนในสิ่งนี้ เพื่อสร้างผลกำไรในอนาคตมากกว่าจะใช้เงินไปกับการเตรียมตัวที่จะปิดกิจการ หรือจ่ายหนี้ไปยาวๆ

แบรนด์ก็ยังคงอยู่ในใจลูกค้าต่อไป

ลองคิดดูว่าการที่ลูกค้าออกไปไหนไม่ได้ก็จะอยู่แต่บ้าน ถ้าเขาจะต้องช้อปปิ้งออนไลน์เขาก็จะเลือกจากสิ่งที่เขาคุ้นเคย ก็คือแบรนด์ที่เขารู้จักก่อนเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว ดังนั้นในระยะยาวทั้งออฟไลน์และออนไลน์ก็ควรจะสร้างแบรนด์เพื่อการเติบโตแบบยั่งยืนเอาไว้ด้วย

กลุ่มธุรกิจค้าปลีก ต้องการ Digital Transformation เพราะลูกค้าออกมาซื้อของไม่ได้
สินค้าในห้างที่ไม่มีลูกค้า

เราควรสร้างแผน Digital Transformation ให้แตกต่างได้อย่างไร

ไมค์ ไทสัน กล่าวเอาไว้ว่า “ทุกคนมีแผน จนกระทั่งเค้าโดนต่อยเข้าที่หน้า”

ตอนนี้ธุรกิจค้าปลีกโดนต่อยเข้าไปที่หน้าแบบเต็มๆ จากวิกฤตในครั้งนี้ ลูกค้าก็ไม่อยากจะเดินเข้าไปที่ห้างเพราะกลัวจะไปติดกับคนอื่นหรือคนอื่นมาติดเรา กิจกรรมต่างๆก็เลยถูกเปลี่ยนขึ้นมาอยู่บนโลกออนไลน์ทั้งหมด อย่างที่เรารู้ว่าถ้าจะต้องไปเข้าโรงหนัง ก็จ่ายตังค์เช่า netflix ดูอยู่ที่บ้านจะดีกว่าหรือ YouTube ก็มีให้เลือกดู ดูได้ทั้งวันในเรื่องที่ตัวเองอยากดู อยากจะดูสินค้าหรือบริการก็ดูผ่านมือถือที่อยู่ในมือตัวเองได้เลย การสื่อสารกันก็ง่ายมากโทรศัพท์ก็ไร้สายแล้วไหนจะมีระบบ Conference ที่ทำให้เห็นหน้าตาก็ได้อีก ตอนนี้ก็เลยกลายเป็นว่า ไม่ต้องไปเดินที่ห้างหรือสาขาก็ใช้ชีวิตได้

ถ้ามาถึงจุดนี้ก็เชื่อว่าธุรกิจค้าปลีกหลายๆธุรกิจก็มีแผน Digital Transformation แล้วก็ดำเนินการจนไปถึงประสบความสำเร็จได้ประมาณหนึ่งแล้วล่ะ แต่ถ้าเราจะสร้างความแตกต่างอยากจะแนะนำดังนี้

  • เก็บหรือใช้ข้อมูลการปฏิบัติงานต่างๆในเชิงลึก ที่เกี่ยวข้องกับ supply chain ไอทีและความต้องการของลูกค้า ให้มากขึ้น
  • กำหนดวิธีการทำงานหรือเครื่องมือที่สามารถให้บริการความต้องการของลูกค้าได้อย่างเหมาะสม 
  • ทำให้เป็นระบบอัตโนมัติหรือ Digital มากขึ้นสำหรับระบบที่มีอยู่ในปัจจุบัน 
  • มองหาการใช้บริการบน cloud หรือสิ่งที่เป็น as a service มากขึ้น (เช่น บริการพื้นที่เก็บไฟล์ , ระบบประมวลผลงานเยอะๆ เป็นรายครั้ง) เพื่อลดการลงทุนก้อนใหญ่หรือระยะยาว ซึ่งตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงหรือเลิกใช้งานอีกด้วย 
  • พยายามใช้งาน DevOps สำหรับการส่งมอบ Application ที่ดีขึ้นและต่อเนื่อง และเป็นแนวทางที่ใช้ได้ต่อไปในระยะยาว

สรุปทิ้งท้ายเอาไว้ว่าการทำ Digital transformation นั้น ไม่ควรลืมเรื่องการเก็บข้อมูลต่างๆและนำมาใช้ประโยชน์ให้ได้อย่างเหมาะสม เพราะเครื่องไม้เครื่องมือในปัจจุบันสามารถสกัดประโยชน์ออกมาจากข้อมูลต่างๆเหล่านั้นได้ในเวลาไม่นาน หรือบางครั้งอาจจะในเวลาเพียงเสี้ยววินาทีด้วยซ้ำ เราต้องเริ่มเปลี่ยนมุมมองและความคิดที่เคยทำมาในแบบเดิมเป็นแบบใหม่ หรืออาจจะหาที่ปรึกษามาช่วยคิดเรื่องเหล่านี้ก็ได้ 

เพราะหลายคนเข้าใจผิดว่าการเริ่มต้นทำ Digital transformation เริ่มต้นที่การใช้เครื่องมือแต่จริงๆแล้ว เริ่มต้นทำ Digital Transformation ต้องเริ่มที่คน