8 ข้อสำคัญ ก่อนทำ digital transformation จากผู้นำในวงการอุตสาหกรรม

8 ข้อสำคัญ ก่อนทำ digital transformation ที่กำลังจะพูดถึงนี้ เป็นข้อที่เตือนใจ เพื่อให้ค่อยๆ คิดให้ดีก่อนเริ่มต้นด้วยการพุ่งเข้าไปทำโดยไม่คิดให้รอบคอบ

จากวิกฤตในครั้งนี้ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงให้กับการทำธุรกิจไปทั่วโลก หลายส่วนถูกปิดอีกหลายส่วนถูกชะลอ แบบที่พอจะสามารถให้บริการลูกค้าได้ และให้ธุรกิจยังเดินต่อไปได้ โดยปกติแล้ว Digital transformation จะเป็นเหมือนวัคซีนที่ช่วยป้องกันผลกระทบที่เกิดจากความเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆได้ แต่ในช่วงนี้ดูเหมือนว่าจะมีความกระตือรือร้นและตื่นเต้นในการ Digital transformation กันเป็นพิเศษ เพราะมันไม่ได้เป็นเพียงวัดซีนอีกแล้ว แต่มันกำลังจะเป็นยาที่ช่วยรักษา และ เป็นอาหารเสริมที่จะทำให้แข็งแรงในอนาคตอีกด้วย

Stephan M. Liozu ซึ่งเป็น Ph.D. is chief value officer ที่ Thales Group จึงได้เขียนบทความให้ IndustryWeek เพื่อให้ฉุกคิด ก่อนที่จะพุ่งไปทำกันโดยไม่คิดหน้าคิดหลังกัน

นี่ก็อาจจะเรียกได้ว่าเป็นดิจิตอลทรานฟอร์เมชั่น 2.0 คือ New Normal ที่จะเปลี่ยนมาเป็นการใช้ชีวิตแบบปกติ และกำลังจะเป็นไปเป็นความเป็นจริงมากขึ้น ทำให้ต้องให้ความสำคัญกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นด้วย 

นี่ก็คือ 8 เรื่องที่ควรจะให้ความสำคัญในการตัดสินใจก่อนที่จะเริ่มทำ Digital Program จากผู้นำในวงการอุตสาหกรรม 

Focus, Focus และ Focus

หลายครั้งการทำ Digital transformation ให้ผลสำเร็จในด้านตัวเลขทางการเงิน แต่กลับไม่ชัดเจนในด้านการสนับสนุนนวัตกรรม ผลที่ได้ก็คือทีมที่ทำเรื่องนี้ ก็สร้างหนทางทางธุรกิจใหม่ไปพร้อมๆกับงานที่เพิ่มขึ้นจากเดิม ซึ่งมันอาจจะได้ผลลัพธ์ที่ไม่คุ้มค่านัก มีตัวอย่างจริงจะเล่าให้ฟัง ย้อนกลับไปเมื่อประมาณต้นปี 2000 ในยุคของฟองสบู่อินเทอร์เน็ตเพียงแค่ 3-5 ปีหลายบริษัท ก็เอาเงินลงมาจำนวนหลายพันล้านบาท เพื่อที่จะทำ Digital Transformation โดยที่คาดหวังว่าจะได้ผลตอบแทนเป็นอย่างดีเหมือนอย่างที่หลายบริษัทเขาได้รับกัน(เลียนแบบกันมา) การทำแบบนั้นโดยที่ไม่มีการโฟกัสหรือไม่มีเป้าหมายพี่ชัดเจน มันส่งผลให้หลายบริษัทเสียเงินไปอย่างเปล่าประโยชน์ในช่วงเวลานั้น หลังจากนั้นมาอีก 3-5 ปีหลายบริษัทก็กลับมาโฟกัส และสร้างสิ่งต่างๆให้เกิดผลกระทบจริงๆขึ้นมา รวมไปถึงการเติบโตในระยะยาวแทน 

ทำให้มันง่ายๆและดูโง่ๆเข้าไว้ (Simple , Stupid)

การที่จะเป็นบริษัทระดับใหญ่แล้วลงมือทำ ดิจิตอลทรานฟอร์เมชั่น ที่มันดูซับซ้อนและสับสนร่วมกันระหว่างหลายๆทีมงาน หลายๆระบบงาน รวมถึงอีกเป็นร้อยโครงการไปพร้อมๆกัน มันคงเป็นไปไม่ได้ หลายครั้งบริษัทเหล่านั้นก็สร้างโครงการหลายๆโครงการขึ้นมาพร้อมกัน โดยขาดผู้นำ ขาดคนรับผิดชอบ ในบางครั้งก็ไม่ได้เกี่ยวข้องกับธุรกิจที่ทำอยู่อีกต่างหาก ก็ต้องเข้าใจว่าอนาคตมันเกี่ยวข้องกับความยืดหยุ่น และความรวดเร็วในการปรับตัว รวมถึงความชัดเจนในความรับผิดชอบ และผู้ดูแลโครงการ ดังนั้นการทำอะไรให้ชัดเจนมากขึ้น หรือลดความซับซ้อนต่างๆลง ก็เป็นสิ่งที่ช่วยทำให้ประสบความสำเร็จได้ง่ายมากขึ้น

ลืมเรื่องการเปรียบเทียบระหว่างระบบเก่ากับยุคดิจิตอลไปซะ 

ดิจิตอลทรานฟอร์เมชั่นจำเป็นที่จะให้ความสำคัญกับนวัตกรรมที่ตอบสนองกับธุรกิจหลักๆที่ทำอยู่ และสามารถสร้างการเติบโตไปยังตลาดได้ นี่เป็นบทเรียนที่ยาก แต่เป็นสิ่งที่สำคัญอันหนึ่ง เพราะการที่เราสามารถเชื่อมต่อระหว่างระบบการทำงานแบบเก่าเข้าสู่ยุคดิจิตอลได้ จะทำให้ธุรกิจสามารถเดินหน้าได้อย่างราบรื่น สิ่งที่ไม่ควรทำก็คือ แบ่งแยกระหว่างระบบเก่ากับระบบใหม่ออกจากกันโดยสิ้นเชิง 

เรียงความสำคัญให้ดีขึ้นและให้เร็วขึ้น 

ไม่จำเป็นว่าการที่จะทำ ดิจิตอลทรานฟอร์เมชั่น มันก็ต้องสร้างสิ่งที่เท่ห์ๆ หรือสิ่งที่เก๋ๆขึ้นมาเพราะว่าหลายครั้ง ที่การมุ่งเน้นในการพยายามสร้างสิ่งที่มันซับซ้อนหรือดูเป็นต่อ หรือดูเป็นนวัตกรรมใหม่ๆ มันใช้ทั้งเงินและเวลาจำนวนมาก อีกทั้งไม่มีใครตอบได้ว่าสิ่งนั้นที่ทำมันจะให้ผลลัพธ์ออกมาที่ดีหรือไม่ แต่มันอาจจะดีกว่าถ้าเรากลับไปโฟกัสสิ่งที่เป็นพื้นฐาน และมีความสำคัญเช่น  ปัญหาของลูกค้าตอนนี้คืออะไร  ลูกค้าอยากให้เราทำอะไร  อะไรที่สร้างความแตกต่างที่แท้จริงได้  อะไรที่จะทำให้ลูกค้าจ่ายเงินให้เราได้  สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ดิจิตอลทีมควรจะเก็บนำไปคิด เป็นการบ้านและให้ความสำคัญมากที่สุด เพื่อให้โครงการที่จะเริ่มทำขึ้นมาสามารถตอบสนองและมีผลกระทบด้านดีต่อบริษัทได้จริงๆ 

หาจุดที่เป็นคอขวดในบริษัทให้เจอ 

มันจะมีพฤติกรรมบางเรื่องที่เราต้องรีบหาให้เจอและกำจัดซะโดยเฉพาะ “เราควรไปทำสิ่งนี้แค่คนคนเดียว” หรือ “ฉันรู้ดีที่สุดแล้วในธุรกิจนี้” หรือ “เราสามารถสร้างสิ่งนี้ได้จากเราเอง” ยุคนี้มันเปลี่ยนไปแล้ว มันช้าเกินไปที่จะทำเอง เราต้องเปลี่ยนความคิดไปที่การมุ่งเน้นเรื่องความเร็ว และผลกระทบที่เกิดขึ้น เพื่อให้ส่งผลที่ดีกว่า จะทำสิ่งนี้ได้เราจำเป็นต้องมีคู่ค้าที่สามารถแนะนำนวัตกรรมที่ดีให้กับเราได้ เราต้องเปิดรับนวัตกรรมใหม่เข้ามา หรือร่วมทำงานกับบริษัทที่ส่งเสริมการก้าวกระโดดของนวัตกรรมเราได้ 

โอกาสเข้าสู่ยุค Digital เริ่มต้นที่แนวทางการทำธุรกิจใหม่ 

ส่วนหนึ่งเป็นความยากในการที่จะเปลี่ยนธุรกิจปัจจุบันเข้าสู่ยุคดิจิตอลได้อย่างสมบูรณ์ ดังนั้นสิ่งที่ง่ายกว่าและเร็วกว่าก็คือ การสร้างแนวทางการทำธุรกิจใหม่โดยอาศัยการขับเคลื่อนแบบดิจิตอล แบบนี้เราจะสามารถสร้างนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องขึ้นมาได้ง่ายและเหมาะสมกว่า โดยต้องให้ความสำคัญกับ ความน่าสนใจ การศึกษาความเป็นไปได้ การทำงานได้จริง จากความเป็นไปได้เรานั้น  การทำ Digital transformation อาจจะพบว่ามีแนวการทำธุรกิจใหม่ได้เป็น 10 อย่าง อย่างนั้นเราก็อาจจะต้องบริหารจัดการและเรียงความลำดับสำคัญหรืออาจจะทำพร้อมกันในบางเรื่อง เพื่อให้เหมาะสมตามแผน และสถานการณ์ต่อไป

แปลงข้อมูลให้มีคุณค่า หรือสร้างเงินจากข้อมูล 

เราเคยเล่าไปแล้วว่าการจะทำ ดิจิตอลทรานฟอร์เมชั่น ได้สำเร็จนั้นสิ่งแรกที่ควรทำก็คือการทำ Data Transformation โดยให้ความสำคัญกับลูกค้าและองค์รวมของธุรกิจ แต่ว่าการจะนำข้อมูลมาใช้ให้เป็นประโยชน์ ก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะต้องไปทำโปรเจคใหม่อีกหลายสิบเรื่อง คำถามมันง่ายๆแค่ว่า เราเคยมีแผนระยะยาวในการบริหารและจัดการกับข้อมูลแล้วหรือยัง? ตอนนี้ข้อมูลที่มีอยู่ต่างๆถูกจัดเก็บได้อย่างเหมาะสมแล้วหรือยัง?  เพราะว่าเรื่องของอนาคตมันก็คือเป็นการนำเอาข้อมูลมารวมกันหรือมาแบ่งแยกเพื่อจัดกลุ่ม และใช้ในการสรุปหาคำตอบหาเรื่องได้ นี่ต่างหากที่เป็นองค์ประกอบหนึ่งของการทำ Data transformation ที่แท้จริง แต่เรื่องหนึ่งที่อยากแนะนำเอาไว้ก็คือ การนำข้อมูลมาทำให้มีคุณค่าหรือสร้างเงินขึ้นมาได้นั้น ถือเป็นเรื่องพื้นฐาน ที่หลายบริษัทมักจะมองข้ามไป ดังนั้น เราอยากพลาดเรื่องเดียวกับที่คนอื่นก้าวพลาด

แก้ปัญหาภายในที่ไม่มีประสิทธิภาพทันที

ตอนนี้ทุกคนอยู่ในวิกฤตการแพร่ระบาด ซึ่งสร้างความตึงเครียดให้กับการทำงานต่างๆมาก แต่นี่ก็เป็นโอกาสที่จะใช้ในการทดสอบความสามารถในการสื่อสารภายใน ระบบโครงสร้างของไอที  เครื่องมือสื่อสารที่ใช้ทำงานร่วมกัน และความสามารถองค์รวม อีกทั้งยังใช้เพื่อทดสอบ Digital mindset ของทีมไอทีและทีมวิศวกรอีกด้วย ดังนั้นเราต้องพิจารณาทันทีว่าการทำ หรือไม่ทำอะไร จะช่วยแก้ปัญหาในวิกฤตตอนนี้ได้หรือไม่ และจะต้องนำไปปรับแผนการทำงานต่างๆที่กำลังจะเกิดขึ้นในเร็ววันนี้ด้วย 

วิกฤตหรือปัญหาก็นำมาซึ่งหนทางโอกาสใหม่ๆได้ มันนำมาสู่การเริ่มต้นกระบวนการหรือการทำงานใหม่ๆให้ธุรกิจ การทำ ดิจิตอลทรานฟอร์เมชั่น จึงเป็นจุดหนึ่งที่กระตุ้นหรือเป็นแนวทางที่ถูกใช้มากในช่วงนี้ โดยเราต้องให้ความสำคัญกับการ ลดความซับซ้อน ให้ความสำคัญกับลูกค้า  สร้างผลกำไร สร้างความแตกต่าง และการหารจัดการระบบจัดเก็บข้อมูล เพื่อให้กระบวนการมีประสิทธิภาพ ใช้เงิน และ เวลาน้อยที่สุด

สุดท้ายนี้ ก็ลองประเมิน 8 ข้อสำคัญ ก่อนทำ digital transformation ว่าก่อนที่เราจะเริ่มทำ เราได้วิเคราะห์ ไตร่ตรองดีแล้วหรือยัง เพื่อให้ไม่ลงทาง หรือ ทำเร็วเกินไป ซึ่งอาจจะได้ผลเสียมากกว่าผลดีได้