Digital Transformation ธุรกิจประกัน ในระยะหลังดูเหมือนเป็นที่น่าสนใจมากขึ้น อย่างเช่นในไทยเอง หลายบริษัท ก็ตั้งทีมงานขึ้นมาใหม่ เพื่อทำงานเรื่องพวกนี้โดยเฉพาะ อีกทั้งยังมีการ partner กับ vendor ต่างๆ เพื่อเพิ่มคามรวดเร็วขึ้นไปอีก (จากประสบการณ์ที่ได้เคยคุยกับทั้งคนในวงการ และ คนที่ทำงานฝาก vendor) วันนี้เลยนำบทความจาก forbe ที่เค้าเขียนเรื่องนี้ไว้พอดี มาเล่าให้ฟังกัน
ท่ามกลางการแข่งขันที่มากขึ้นนี้ ก็ค่อยๆสร้างความแตกต่าง ระหว่างคนที่ยังไม่เริ่ม กับคนที่เป็นผู้นำด้าน digital ไปเรื่อยๆ คำถามก็คือ พอจะมีทางใดบ้าง ที่จะทำให้ความเร็วในการเปลี่ยนตัวเองเข้าสู่ digital นั้นเร็วขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ตอนนี้บ้างอีก คำตอบเบื้องต้น ก็คือ บริษัท ก็ควรเปลี่ยนความคิดในกระบวนการทำงานภายในบริษัทของตัวเองใหม่ ยาวไปถึง วัฒนธรรมบริษัทเพื่อให้เข้าสู่สภาพแวดล้อมการทำงานแบบใหม่ ไม่อย่างนั้นทุกอย่าง ก็ยังคงเหมือนเดิม แต่ก็ยังมีเรื่องอื่นอีก อันนำไปสู่ข้อแนะนำดังนี้
3 วิธีเร่งความเร็วในการทำ digital transformation
ก่อนอื่น ก็ต้องยอมรับก่อนเลย ว่าบริษัทที่ยังไม่ได้เริ่มต้นการทำ digital transformation หรือว่า เริ่มแบบ แตะๆเบา ตอนนี้ กำลังอยู่ในสถานการณ์ที่เรียกได้ว่า ไฟลนก้นกันหมดแล้ว เพราะว่าการจะลุกขึ้นมาทำเรื่อง digital กันตอนนี้ ก็ไม่ง่ายเลย เพราะว่า การ lockdown ที่เกิดขึ้นในตอนนี้ ก็เป็นอุปสรรคตัวหลัก อีกทั้งยังสร้างงานและความวุ่นวายให้กับทีม IT เป็นอย่างมากอีกด้วย แค่จะทำให้ผ่านไปได้ในแต่ละเรื่องยังลากเลือดกันเลย
แนวทางที่เหมาะสมที่สุดในตอนนี้ เพื่อให้รอดในสถานการณ์ที่ไม่ปกตินี้ ก็คือการนำกลยุทธ์ที่มีการปรับเปลี่ยนธุรกิจตัวเองได้อย่างรวดเร็ว และเริ่มต้นใช้มันทันที เช่น เริ่มพิจารณาใช้ประโยชน์จาก platform อะไรที่ไม่ต้องเสียเวลาไปกับการเขียนโค้ด, การผลักดันความสามารถของผู้บริหาร หรือ ผู้นำทีม ที่สามารถเข็น สินค้าหรือบริการแบบใหม่ออกมาสู่ตลาดได้โดยเร็ว และจัดลำดับความสำคัญของการทำธุรกิจตัวเอง และพร้อมปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปมาเสมอ
เร่งการนำไปใช้จริง โดยลดการพึ่งพา IT ภายใน
ต้องยอมรับความจริงกันก่อน ว่า การจะเข็นผลิตภัณฑ์ด้าน digital อะไรสักตัวนึงออกมาได้จากบริษัทขนาดใหญ่ มันจะใช้เวลานานมาก โดยค่าเฉลี่ย ของกลุ่มบริษัทประกัน จะอยู่ที่นาน 12 – 18 เดือน เลยทีเดียว
การพัฒนา Digital product สักตัวนึง จะต้องใช้งานทีม IT เยอะมาก ไม่ใช่แค่การทำให้ product นั้นขึ้นมารันได้ แต่ว่ายังต้องรวมการ Maintenance (การปรับปรุงผลิตภัณฑ์ต่อเนื่อง หลังจากที่รันได้จริงแล้ว) แล้วยังรวมไปถึงการ Optimization อีกด้วย (การพัฒนาเพื่อให้ทำงานได้ดีขึ้น หรือเร็วขึ้น)
ดังนั้น การที่เรานำ digital platform ที่ไม่ต้องเขียนโค้ดเองเข้ามาประยุกต์ใช้ ก็จะช่วยย่นเวลาให้ทีมงานฝั่ง Business สามารถเริ่มต้นใช้งานได้ทันที เพื่อให้เกิด business impact ได้ทันที ไม่ต้องรออีกนานเป็นปีอีกต่อไป รวมไปถึง เรื่องของความปลอดภัย และ การรักษามาตรฐานของระบบเพื่อให้เป็นไปตามข้อบังคับ หรือ กฏหมาย ก็เป็นหน้าที่ของ vendor ที่ต้องดูแลส่วนนี้แทนเราอีกด้วย และเราก็สามารถ ตรวจสอบ vendor ต่างๆก่อนที่จะเลือกใช้ได้ด้วย ดังนั้นแล้ว เท่ากับว่า เราก็ตัดกระบวนการเขียนโค้ด , ตรวจสอบความปลอดภัย, การรักษามาตรฐานของระบบ ให้เป็นไปตามกฏข้อบังคับ ยันไปถึงการดูแลระบบ เพื่อปรับปรุงให้ดีขึ้นได้ออกไปทั้งหมด อันนี้จะช่วยลดเวลาได้เยอะมากๆ
เอาโครงการมาเรียงความสำคัญ แล้วเริ่มทำโดยเน้น 80/20
หลายบริษัทก็มีโครงการมากมายที่ผ่านการวิเคราะห์ออกแบบมาแล้ว แต่ยังไม่ได้ถูกทำจริง ดังนั้น ก็เพียงแค่หยิบขึ้นมาเรียงความสำคัญ และดูประโยชน์ที่ได้รับ โดยเน้นที่ทำน้อย (20) แต่ได้เยอะ (80) เพื่อจะได้ใช้พลังงานและเงิน น้อยๆแต่ได้ผลตอบแทนเยอะๆแทน
ซึ่งคนที่เชี่ยวชาญในเรื่องนั้นๆ เค้าสามารถบอกรายละเอียด และชี้แนวทางได้แน่นอนว่าควรจะต้องเริ่มที่จุดไหน อย่างไร และอันไหนที่ต้องไว้ทีหลัง
เตรียมพร้อม สำหรับการเปลี่ยนแปลง
การมอบทีม design และ ทีม develop ที่แข็งแรงให้กับคนที่เป็น business leader เค้าจะสามารถปรับ product ต่างๆให้เข้าใกล้ความต้องการของธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว และถ้าเค้าคนนั้น มี agile mindset ที่พร้อมจะปรับเปลี่ยนส่วนต่างๆได้อย่างรวดเร็วแล้ว ก็ยิ่งดีขึ้นไปอีก เพราะในโลกความเป็นจริง ทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัว มันเปลี่ยนเร็วมากๆ วันนี้ที่เราเริ่มทำอะไรสักอย่างหนึ่ง ผ่านไปหนึ่งอาทิตย์ อาจจะล้าสมัย หรือมีอะไรที่เจ๋งกว่ามาก่อนเราแล้วก็ได้ นี่จึงเป็นเรื่องที่บริษัทใหญ่จะต้องสร้างมันขึ้นมาให้ได้
บริษัทประกันต่างๆ ไม่ควรมีแนวคิดว่า “set it and forget it” (ทำมันให้จบๆแล้วลืมๆมันไปซะ) ในกระบวนการทำ digital transformation กลับกัน คือ ควรต้องสร้างสิ่งต่างๆขึ้นมา ในรูปแบบ module ที่ได้คิดกระบวนการปรับแต่งเพิ่มเติมในอนาคตได้เอาไว้ล่วงหน้าแล้วต่างหาก
บริษัทประกันต่างๆ ควรปรับปรุงแนวทางการทำ digital transformation
บริษัทประกันบางแห่ง ที่ยังตามหลังเพื่อนๆ ในเรื่องการทำ digital transformation นั้น ควรตั้งกำหนดความเร็ว หรือเป้าหมายที่ระบุระยะเวลาเอาไว้ที่จะพาตัวเองก้าวเข้าสู่สภาพแวดล้อมใหม่ได้ เพื่อให้เอาตัวรอดได้ในยุคที่กำลังเปลี่ยนแปลงนี้ หรืออาจจะไปถึงยอดความเป็นผู้นำได้ในเวลาอันสั้น ซึ่งมันอาจจะหมายถึงการแก้ไขปรับปรุงในเรื่องใหญ่ๆ หรืออาจจะทั้งธุรกิจเลยก็เป็นได้
คนที่เป็นผู้นำด้าน technology และ innovation ควรเป็นคนที่เหมาะสม และเกี่ยวข้อง
Innovation หรือ นวัตกรรม เป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการทำ digital transformation แต่ในหลายๆครั้ง กลับไม่ได้มีเรื่องของ Business เข้าไปเกี่ยวข้องด้วยเลย ดังนั้น เพื่อไม่ให้ถูก IT ครอบงำ และ Business เป็นแค่เพียงเจ้าของ เครื่องมือเหล่านั้น ก็สามารถลุกขึ้นมาเป็นผู้นำ และ สร้างนวัตกรรมเองเลยจะดีกว่า
จะต้องปรับปรุงประสบการณ์ของผู้ใช้งานได้อย่างรวดเร็ว
ถ้าคิดอะไรไม่ออก ก็พยายามทำให้ การเข้าถึงของลูกค้าเป็นแบบ Digital ให้ได้
ประสิทธิภาพ (ประหยัดต้นทุน) และ ได้ผลลัพท์ (รายรับ/กำไร ที่เพิ่มขึ้น)
บริษัทประกัน จะต้องให้ความสำคัญในการลดต้นทุน โดยนำ digital เข้ามาประยุกต์ใช้ เพื่อให้การปฏิบัติงานต่างๆได้ประสิทธิภาพมากขึ้น
scale
การทำอะไรที่ใช้ได้แค่เฉพาะเจาะจงเกินไป มันไม่มีประโยชน์ นวัตกรรมที่แท้จริง จะต้องทำซ้ำได้ และขยายขนาดให้ใหญ่ขึ้นไปได้
ความเร็ว และ ความว่องไว
ต้องขยับตัวให้เร็ว เปลี่ยนแปลงตัวเองให้ไว อย่างน้อยเท่ากัน หรือเร็วกว่าคู่แข๋งให้ได้ และรักษาความเร็วนั้นเอาไว้ให้ได้ เพื่อสร้าง technology ใหม่ๆขึ้นมา รวมทั้ง ตอบความต้องการของลูกค้าด้วย
การที่จะขึ้นมาเป็นบริษัทประกันชั้นนำได้ ต้องทำให้ดีกว่า ไม่ใช่เพียงแค่ทำให้พอจะมีหรือตาม technology trend เท่านั้น แต่ต้องสร้างนวัตกรรม ซึ่งมันต้องเป็นเป้าหมายที่ทะเยอทะยาน และชัดเจน ดังนั้น คำแนะนำทั้งหมดนี้ สามารถนำไปใช้ เพื่อให้เป็นผู้นำทั้งในระหว่าง และหลังจากที่ผ่านวิกฤตนี้ไปด้วย
ถ้าต้องการอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม เกี่ยวกับพื้นฐานของการทำ digital transformation ก็สามารถอ่านได้ในหมวด พื้นฐาน Digital transformation ได้เลย มีเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง และแนวทางที่จะแนะนำให้เข้าใจ พื้นฐาน และรองรับการต่อยอดในระดับสูงต่อไป
เชี่ยวชาญเรื่อง eCommerce และ Digital Transformation เพราะมีประสบการณ์กว่า 10 ปี และยังเป็น Full Stack Developer รวมถึงประสบการณ์ด้าน Big Data Ecosystem , Blockchain Ecosystem ถามได้ปรึกษาได้ เป็นกันเอง และ จริงใจ 🙂