ลิทัวเนียสร้างเงิน digital เสร็จแล้ว เป็นประเทศแรกของยูโรโซน

lithunia-digital-coin

ประเทศลิทัวเนียเป็นประเทศแรกในยูโรโซนที่จะออกดิจิตอลคอยโดยมีธนาคารกลางเป็นผู้ค้ำประกัน

ถือว่าเป็นเรื่องใหญ่ของโลกการเงินการธนาคาร ที่ต่อจาก หยวน Digital ก็เป็นประเทศลิทัวเนียนี่แหละ ที่ธนาคารกลางของประเทศได้สร้างสกุลเงินแบบ Digital ขึ้นมาโดยใช้บล็อกเชนเทคโนโลยี ก็ถือได้ว่าเป็นเรื่องที่ปฏิเสธไม่ได้สำหรับเทคโนโลยีนี้เพราะว่า Facebook ซึ่งไม่ได้ถือว่าเป็นประเทศ แต่ก็กำลังผลักดัน Digital Coin ของตัวเองที่ชื่อว่า Libra ดังนั้นประเทศต่างๆจึงต้องรีบตื่นตัวเป็นอย่างมาก 

โดยประเทศลิทัวเนียได้ออก LBCOINs มาเป็นจำนวน สองหมื่นสี่พันเหรียญ บน Blockchain และเตรียมที่จะขายในสัปดาห์นี้ และที่ด้านหลัง ก็มีภาพของการประกาศอิสรภาพของประเทศในปี 1918 อีกด้วย

โดยผู้บริหารของธนาคารกลางประเทศลิทัวเนียบอกว่าในตอนแรกก็ไม่มีใครสนใจ Digital Currency อย่างจริงจังเลยแต่ว่าต่อมาก็พบว่าถ้าเราไม่ทำมันก็จะตกเป็นความเสี่ยงที่มีใครสักคนลุกขึ้นมาทำแทนเรา ดังนั้นเราจึงต้องสร้างมันขึ้นมาเอง 

LBCOIN ก็เป็นส่วนหนึ่งของ Central Bank Digital currency หรือที่เรารู้ในชื่อย่อว่า CBDC (ประเทศไทยเองก็มี และอยู่ในช่วงการทดสอบใช้งานจริง กับภาคเอกชนอยู่)  

CBDC ก็คือสกุลเงินที่อยู่ในรูปแบบดิจิตอล ซึ่งถูกสร้างโดยรัฐบาลและธนาคารกลางของประเทศนั้นๆ 

แต่ว่าในทางกลับกัน Cryptocurrencty อย่างเช่น bitcoin ถูกสร้างขึ้นมาโดยสมการทางคณิตศาสตร์ที่มีความซับซ้อนและใครที่สามารถแก้สมการนั้นได้ก็จะสามารถดำเนินการใดๆกับธุรกรรมได้ด้วยเช่นกันซึ่งจุดนี้จะไม่มีใครที่สามารถเข้ามาควบคุมได้แม้กระทั่งรัฐบาลใดๆก็ตามจึงแตกต่างจาก CBDC ที่มีรัฐบาลกลางควบคุมเป็นอย่างมาก 

การขายจะขายในรูปแบบแพ็ค 6 ที่ราคา 99 euros ซึ่งสามารถเอาไปซื้อขายแลกเปลี่ยนกันต่อได้ โดยมีขนาดเท่ากับ Credit Card และมีมูลค่าใบละ 19.18 euros 

โดยการซื้อขายเปลี่ยนมือนั้นสามารถทำได้โดยตรงที่ธนาคารกลางของประเทศ ที่มี private blockchain network ทำงานเป็นเบื้องหลัง

นี่ก็ถือเป็นอีกหนึ่งความก้าวหน้าที่รัฐบาลหรือธนาคารรวมไปถึงอุตสาหกรรมทางการเงินเริ่มปรับตัวเองเข้าสู่โลกดิจิตอลมากขึ้นและเป็นการประยุกต์ใช้บล็อกเชนเทคโนโลยีเข้ามาอย่างเป็นประโยชน์และตรงจุด 

แม้ว่าครั้งนี้ จะดูเหมือนเป็นของสะสม เพราะออกมาจำนวนน้อยมาก แต่ก็ถือว่าเป็นโครงการนำร่องที่น่าสนใจมากทีเดียว เพราะเค้าก็ต้องศึกษาการใช้งานจริงด้วย ว่าจะเป็นอย่างไรต่อไป