Cloud คือพื้นฐานของ Digital Transformation

cloud และการทำ digital transformation
Image by Gerd Altmann from Pixabay

Digital transformation เป็นกลุ่มของเทคโนโลยี ที่มีการเติบโตเร็วที่สุด โดยการคาดการณ์ของ IDC คาดการณ์เอาไว้ว่า 2023 ดิจิตอลทรานฟอร์เมชั่นจะมีเงินลงทุนเกินกว่าครึ่งหนึ่งของการลงทุนในด้าน ICT

ในหลายกลุ่มธุรกิจ เช่น การเงิน ,อุตสาหกรรม, ค้าปลีก, การขนส่ง และอื่นๆ ต่างเริ่มมีความคืบหน้าและลงมือจริงจังในด้านการทำ Digital transformation อีกทั้งยังมีความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วมากขึ้นกว่าแต่ก่อน รวมไปถึงยังสามารถสร้างเครื่องมือวัดความก้าวหน้าขึ้นมากันอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ก็เพื่อให้เชื่อมโยง Digital เข้าไปในกระบวนการทำงานของธุรกิจ หรือใช้เป็นการปฏิรูปตัวเองเพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ 

Cloud เป็นเรื่องแรกของการเปลี่ยนแปลง เพราะสามารถรองรับต่อความต้องการ ณ ตอนนั้นได้เลยทันที เช่น กระบวนการ deploy application, storage, processing power ผ่านอินเทอร์เน็ตโดยมีโมเดลก็คือจ่ายตามที่ใช้เท่านั้น นี่จะเป็นข้อดีให้บริษัทต่างๆสามารถหลีกเลี่ยงความวุ่นวายของการจัดการ CAPEX ได้อย่างมาก

ข้อดีของ Cloud computing

  • ยืดหยุ่น/รับต่อความเปลี่ยนแปลงอันรวดเร็ว – เพราะว่าทุกอย่างเราสามารถใช้งานได้เมื่อเราต้องการได้ทันที เราสามารถสร้าง infrastructure ขึ้นมาได้ในเวลาอันสั้นตามรูปแบบเฉพาะที่ต้องการ ทั้งเร็ว และง่าย
  • รองรับการขยายตัว – ในบางครั้ง คนที่ใช้งานระบบของเราอาจจะเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากในเวลาอันสั้น ถ้าเราขยายตัวไม่ทัน ระบบก็อาจจะล่มได้ในทันที 
  • ลดกำแพงการทำงานร่วมกัน – เพราะว่าบริษัทใหญ่ก็ทำงานแยกทีมจากกันโดยชัดเจน ดังนั้นการย้ายระบบหรือข้อมูลขึ้นไปทำงานบน Cloud ก็ลดกำแพงที่ต้องทำงานข้ามทีมกันลงได้ อาจจะไม่ต้องมีทีม architecture เป็นการเฉพาะอีกต่อไป

ทำไมต้องให้ความสนใจกับ Cloud 

  • ถ้าเราจะก้าวนำคู่แข่งโดยเฉพาะมีการปรับตัวที่รวดเร็ว เราต้องให้ความสำคัญกับกลยุทธ์ Cloud เป็นเรื่องแรกๆ
  • ถ้ายังไม่เคยเริ่มใส่ใจกับ Cloud เลย ก็ถืงเวลาแล้ว
  • เมื่อเริ่มต้นใช้งาน Cloud แล้ว ให้ระลึกเอาไว้ว่า ไม่มี one size fit all (ทำทีเดียว เหมาะสมสำหรับทุกอย่าง) เพราะว่ามีปัจจัยที่เกี่ยวข้องกลายเรื่อง ทำให้เราปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม ในช่วงเวลานั้นๆ

Public Cloud เทียบกับ Private Cloud

Public Cloud เป็นระบบที่ให้บริการผ่าน internet โดยผู้ให้บริการรายอื่น เช่น AWS, Azure, Google Cloud ซึ่งเขาจะทำหน้าที่บริหารจัดการ Infrastructure, Software , Service รองรับการใช้บริการจากคนทั่วไป โดยเราในฐานะผู้ใช้บริการก็ไม่ต้องสนใจว่าจะเพิ่มหรือลดจำนวน Resource ให้มากน้อยเพียงพอในแต่ละช่วงเวลาอย่างไร  ทำให้ไม่ต้องสนใจ CAPEX เลย และรองรับการขยายตัวได้ทันทีเมื่อเราต้องการ 

Public cloud มีการให้บริการในรูปแบบต่างๆ ดังต่อไปนี้

  • Software as a Service (SaaS)
  • Platform as a Service (PaaS)
  • Infrastructure as a Service (IaaS)
  • Business Process as a Service (BPaaS)

Public Cloud มีข้อดีก็คือต้นทุนต่ำ แต่เราก็อาจจะต้องจ่ายบางส่วนที่เราไม่ได้ต้องการใช้ด้วย เช่น AWS เราจ่ายตาม service ต่างๆ ที่เราใช้งานก็จริง แต่เขาก็ต้องพัฒนา Feature อื่นๆ ที่เราอาจจะไม่ได้ใช้งาน เพิ่มอย่างต่อเนื่อง ค่าใช้จ่ายก็จะเฉลี่ยกลับมาในค่าใช้บริการของทุกคน นั่นเอง

ถ้าเราใช้งานเป็นแบบ Private cloud เราก็จะสามารถ กำหนด resource ความต้องการต่างๆ ได้ด้วยตัวของเราเอง ซึ่งจะทำให้มีความยืดหยุ่นที่ตอบสนองกับงานได้ดีกว่า มีความปลอดภัยที่สูงกว่า และสามารถควบคุมได้ครบทุกส่วนมากกว่า แต่อย่างไรก็ตามก็ต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมากกว่าในตอนเริ่มต้น

การตัดสินใจจะเลือกใช้ Cloud แบบไหน ขึ้นอยู่กับ

  • เงินลงทุนที่มี บริษัทใหญ่ก็อาจจะมีเงินลงทุนที่สามารถทำ Private cloud และใช้ได้คุ้มค่ากับการลงทุน แต่ถ้ามีเงินไม่มาก Public cloud จะเหมาะกว่า
  • การสอบเทียบมาตรฐาน ถ้างานที่ทำอยู่นั้นเกี่ยวข้องกับข้อมูลที่มีความ sensitive หรือเกี่ยวข้องกับความลับขั้นสูง หากจำเป็นจะต้องสอบเทียบมาตรฐานต่างๆ เช่น eCommerce ที่รับบัตรเครดิต โดยเฉพาะที่มีการเก็บ ข้อมูลของบัตรเครดิตเอาไว้เอง เพื่อใช้ในการชำระเงินต่อไป แบบนี้ทั้ง Software , infrastructure จำเป็นที่จะต้องสอบเทียบให้ได้มาตรฐาน PCI DSS ซึ่งถ้าเราตั้ง private cloud เราก็จะเป็นจะต้องทำไปสอบเทียบมาตรฐานให้ผ่านก่อนด้วย 
  • การควบคุม ถ้าเราต้องการควบคุมในระดับ hardware หรือเชิงลึกๆของระบบความปลอดภัย private cloud เท่านั้นที่จะตอบโจทย์ 

Multi- กับ Hybrid Cloud

การใช้ Cloud จากผู้ให้บริการเพียงเจ้าเดียว จบไปนานแล้ว ในปี 2020 นี้เราจะใช้ความสามารถจาก multi-cloud และ hybrid-cloud เข้ามารวมกัน เพื่อสร้างระบบงานอย่างที่เราต้องการ

มีการรายงานจาก The RightScale 2019 ยืนยันว่าการใช้งานจากผู้ให้บริการหลายเจ้าเป็นตัวเลือกที่ใช้งานจริงแล้วในบริษัทขนาดใหญ่ 

  • บริษัทขนาดใหญ่จำนวน 4.9% มีการใช้งานระบบ Cloud
  • 84% ใช้ public cloud จากหลายเจ้าพร้อมกัน
  • 58% ใช้ ใช้ผสม public & private (hybrid)
  • มีเงินลงทุนใน public cloud เร็วขึ้นกว่า 3เท่า เมื่อเทียบกับ private cloud

การใช้งาน Multi-Cloud หมายถึงการใช้งานจากหลายที่พร้อมๆกัน เพราะว่าแต่ละผู้ให้บริการก็จะมีจุดเด่นและบริการที่แตกต่างกันในบางเรื่อง ซึ่งเราสามารถนำจุดเด่นหรือสิ่งที่เราต้องการจากผู้ให้บริการแต่ละราย มาปรับให้เหมาะสมได้ และทำให้เราไม่ต้องไปยึดติดกับเจ้าใดเจ้าหนึ่งเพียงอย่างเดียว 

เป็นยุคของ Containerization

การใช้งานแบบ Hybrid Cloud  ทำให้ผู้ใช้งานจะได้รับสภาพแวดล้อมในการทำงานที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับการตั้งค่า ไล่ตั้งแต่เรื่องของความปลอดภัย การเข้าถึงข้อมูลในส่วนต่างๆของระบบ กระบวนการทำงานต่างๆที่แตกต่างกัน ไปจนถึงเครื่องไม้เครื่องมือที่ไม่เหมือนกัน สิ่งเหล่านี้จะส่งผลกระทบให้กับทีมพัฒนาซอฟต์แวร์มีข้อติดขัดและทำงานได้ช้าลง 

การที่เราเปลี่ยนมาใช้การทำงานในรูปแบบ Containerization จะทำให้เหมือนจะเรามีสิ่งที่จำเป็นต้องใช้เพียงพอในการพัฒนาซอฟต์แวร์นั้นและ pack สิ่งต่างๆเหล่านั้นไปทำงานต่อที่ระบบใดก็ได้ ที่รองรับการทำงานแบบ Container เหมือนกัน ดังนั้นไม่ว่าที่ไหนที่สามารถ ใช้งาน Container ได้ ระบบซอฟแวร์ที่เขียนอยู่ใน Container ก็จะทำงานเหมือนกันทั้งหมด ทำให้การใช้งาน Cloud จากหลากหลายผู้ให้บริการเป็นไปได้อย่างต่อเนื่อง

การควบคุมค่าใช้จ่าย เป็นเรื่องหลักที่ต้องให้ความสำคัญ

การลงทุนกับระบบ Cloud และการทำ Cloud optimization เป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญ จากการสำรวจพบว่าผู้ใช้บริการ Cloud 64% ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ไปพร้อมกับการใช้บริการจากปกติ เพราะว่าถ้าเราไม่ Optimize เราจะมีต้นทุนที่เสียไปฟรีๆถึงประมาณ 70% เลยทีเดียว

สิ่งที่เราสามารถ Optimize ได้ ประกอบด้วย

  • ค้นและ และ ปิด ระบบใดๆที่ไม่ถูกใช้งาน
  • สร้าง heat map เพื่อ อธิบายส่วนงานที่ทำงานหนัก ทำงานเบา
  • เลือก ขนาดการประมวลผลที่เหมาะสมกับงานที่ทำ
  • กระจาย work load ระหว่าง public , private cloud ให้เหมาะสม
  • มองหาส่วนลดเพิ่มเติม (เช่นการทำสัญญาระยะยาว จะมีส่วนลดให้ 20-50% แล้วแต่กรณี)

อยากให้ทุกคนเริ่มหันมามองการใช้งาน Cloud อย่างจริงๆจังๆได้แล้ว เพราะการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทุกวันนี้ เกิดขึ้นด้วยความรวดเร็วมาก อย่างที่เราเห็น อยู่ดีๆก็มี Virus Covid-19 แพร่ระบาด แล้ว 5 เดือนก็ซาลงไป ซึ่งผลกระทบเกิดขึ้นเยอะมาก แต่ถ้าเราจะพัฒนาระบบสักอย่างหนึ่ง แล้วต้องสั่ง server ใช้เวลา 3-4 เดือน กว่าจะได้เครื่องมาทำงานทุกอย่างก็จบไปหมดแล้ว ความเสียหายเกิดไปแล้ว แต่ถ้าระบบงานที่รันเยอะๆ และ รันยาวๆ แบบนี้ ก็เหมาะสำหรับการใช้งาน server มากกว่า เพราะว่ามีค่าใช้จ่ายในระยะยาวที่ต่ำกว่านั่นเอง ก็ต้องดูให้เหมาะสมด้วย ดังนั้น มีเครื่องมือเยอะ ก็ต้องใช้งานให้ถูกต้องเหมาะสมด้วย จึงจะเป็น key ที่สำคัญที่สุด