อ้างอิงจากการสำรวจล่าสุดที่ทำโดย S&P Global เพื่อหาผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ Covid-19 ต่อธุรกิจ การสำรวจนี้ได้สัมภาษณ์ไปถึง 820 คน จากคนที่มีผลต่อการตัดสินใจในส่วนของ IT ในช่วงเวลานี้
นอกเหนือจากผลกระทบหลักที่เรารู้กันอยู่แล้วก็ยังมีเรื่องที่เป็นผลกระทบตามมาก เช่น การถูก disrupt, การงดการท่องเที่ยวชั่วคราวหรือถูกจำกัดบริเวณและขอบเขต, การยกเลิกกิจกรรม event ต่างๆ, การทำงานจากที่บ้าน การลดจำนวนคนทำงาน และอื่นๆ
การสำรวจได้มีการถามในหัวข้อการหยุด หรือการเลื่อนธุรกิจบางส่วนออกไป จากวิกฤติในครั้งนี้ ผลสำรวจระบุว่า 24% มีการหยุดจ้างพนักงานมาเพิ่มเติม และ 22% จะบอกว่าหยุดการออกสินค้าหรือบริการใหม่ 15% บอกว่าหยุดการซื้อฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ทดแทนของเดิม และ 12% หยุดการสร้าง infrastructure เพิ่ม
ตัวเลขเหล่านี้ส่งผลกระทบโดยตรงกับการสร้างเทคโนโลยีใหม่ๆขึ้นมา ซึ่งมันก็ยาวรวมไปถึง infrastructure ในภาพระยะยาวด้วย ในรายงานระบุว่า ธุรกิจกำลังให้ความสำคัญกับการปรับตัว และสิ่งที่ต้องทำจากความต้องการ ณ ขณะนั้น โดยในภาพใหญ่หรือระยะยาวจึงถูก hold ไว้ก่อน แต่ในขณะเดียวกันธุรกิจที่มีขนาดใหญ่มาก ยังคงเดินหน้าไปได้อยู่ แม้ว่าจะไม่เต็มกำลังความสามารถเหมือนเดิม อีกทั้งยังมีการเพิ่มค่าใช้จ่ายในส่วนที่เกี่ยวข้องมากขึ้นโดยระบุว่า 34% ของบริษัทขนาดใหญ่มีการเพิ่มค่าใช้จ่ายในส่วนของคนทำงานฝ่ายไอทีและทรัพย์สินฝ่ายไอที โดยตัวเลขนี้ 51 % ในนั้นเป็นธุรกิจที่ทำเงินได้เกิน 3 หมื่นล้านบาทต่อปี
ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นในส่วนของ IT ประกอบไปด้วย 43% ใช้กับเครื่องมือสื่อสารและการทำงานร่วมกัน, 37% ใช้กับอุปกรณ์เคลื่อนที่และบริการที่เกี่ยวข้อง, 32% ใช้กับเครือข่ายและความสามารถในการใช้งานเครือข่าย , 28% ใช้กับระบบความปลอดภัย ทั้งหมดนี้หลักๆก็ถูกใช้ไปกับการทำงานจากที่บ้าน หรือการทำงานร่วมกันแบบไม่ต้องเจอตัว ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องการมากที่สุดในตอนนี้สำหรับแต่ละบริษัท
แต่ในการสำรวจก็ยังพบว่ามีการลงทุนเพิ่มเติมกับอุปกรณ์เคลื่อนที่และ กลยุทธ์ในสินค้าและบริการใหม่ๆเพิ่มเติมอีก จากตัวเลขที่สำรวจพบว่า 49% ของบริษัทขนาดใหญ่กำลังดำเนินการดิจิตอลทรานฟอร์เมชั่น เพื่อเปลี่ยนธุรกิจให้เข้าสู่ยุคดิจิตอลมากขึ้น และ 34% ก็กำลังพิจารณาเริ่มต้นการทำกลยุทธ์ Digital อีกด้วย
รายงานจาก Ernst & Young ที่มีออกมาก่อนการแพร่ระบาดได้เคยถามผู้บริหารจำนวน 2,900 คนจาก 45 ประเทศ รายงานระบุว่า 55% กำหนดเงินลงทุนในส่วนดิจิตอลเอาไว้ประมาณ 25 ถึง 50 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้น หลายๆบริษัทก็ได้มีการวางเงินลงทุนเอาไว้ในส่วนการทำ Digital transformation ตั้งแต่ก่อนเกิดการแพร่ระบาดอยู่แล้ว
คำว่า Digital transformation มีความหมายหนึ่งก็คือ “data infrastructure modernization” เมื่อมี big data ที่มีข้อมูลต่างๆที่มีประโยชน์ และถ้าเราเข้าใจได้ว่า การนำข้อมูลเหล่านั้นมาใช้ประโชชน์ได้อย่างไร เราก็จะสามารถขับเคลื่อนธุรกิจของเราได้ รวมถึงการเข้าถึงข้อมูลในธุรกิจ ที่เป็นเชิงลึกลงไป เพื่อให้การตัดสินใจในเรื่องต่างๆทำได้ดีขึ้น สร้างกำไรได้มากขึ้น การปฏิงานส่วนต่างๆมีประสิทธิภาพมากขึ้น อีกทั้ง ลูกค้าก็ชื่นชอบใน brand ได้มากขึ้นอีกด้วย
ก็จะทำให้เกิดคำถามว่า บริษัทใหญ่ๆจะสามารถจัดการกับระบบการเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ ไปพร้อมกับการบริหารจัดการข้อมูลจำนวนมหาศาล รวมถึงยังต้องให้ความสำคัญกับธุรกิจและกิจการไปพร้อมกันได้อย่างไร
คำตอบก็คือ มันเป็นไปได้ ไม่ใช่แค่เป็นไปได้แต่ว่าทำให้เป็นรูปธรรมและเหมาะสมได้ด้วย ในตอนนี้ที่มีสถานการณ์การแพร่ระบาด กลยุทธ์ต่างๆที่เคยวางแผนว่าจะทำ ก็ถูกพักเอาไว้ก่อน ซึ่งหมายรวมถึงการทำ Digital Transformation บางส่วน ที่อาจจะทำให้ธุรกิจเดินหน้าต่อไปได้ในอนาคตด้วย ในขณะที่หลายธุรกิจกำลังพยายามว่ายให้ตัวเองโผล่พ้นน้ำในตอนนี้ Mark Raskino ซึ่งเป็น VP ของ Gartner ได้กล่าวไว้ว่า ตอนนี้เรากำลังสู้กับไวรัส ผู้บริหารหลายๆคนในบริษัท รีบเข้าไปดำเนินการส่วนต่างๆ เพื่อให้บริษัทเดินหน้าต่อได้ โดยเร็วที่สุด และ ให้ไกลที่สุด เท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการยกระดับไม่ให้เศรษฐกิจตำต่ำไปมากกว่านี้ ผมมีความเชื่อว่า พวกเขาจะพบว่า ไม่มีขอบเขต หรือ ข้อจำกัด ในการทำภาระกิจ นวัตกรรมด้าน digital อย่างแน่นอน
ผมเชื่อว่าแนวทางที่เป็นไปได้ในเวลานี้ก็คือการเริ่มต้นเทคโนโลยี ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลของทั้งบริษัท มันจะสามารถช่วยเข้าถึงข้อมูลเชิงลึกของจุดที่คุณไม่เคยเห็น โดยไม่ต้องลงทุนเพิ่มอีกเป็นจำนวนมากให้กับฮาร์ดแวร์และ infrastructure บริษัทขนาดใหญ่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพจากพื้นที่เก็บข้อมูลที่เขามีอยู่แล้วเดิม เอามาปรับปรุงเพื่อรองรับกระบวนการเก็บข้อมูลชุดใหม่ๆเข้าไป โดยไม่ต้องเสียเวลาเตรียมตัวเพิ่มขึ้นเยอะ อย่างที่ควรจะเป็น อันนี้จึงเป็นแนวทางที่เป็นไปได้ในช่วงเวลานี้
นี่ไม่ใช่เวลาที่จะลงทุนสำหรับระยะยาวในการจะทำโครงการ Digital transformation มันเป็นเวลาที่จะปรับตัวเองเข้าสู่ยุคดิจิตอลให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ แต่มันก็สามารถทำได้จากข้าวของอุปกรณ์ที่คุณมีอยู่แล้วเดิม เพียงแต่ต้องลงไปดูว่ายังมีอะไรที่ยังขาดอยู่บ้างที่จะเชื่อมให้เข้าสู่ยุคดิจิตอลได้ มันก็จะโอเคถ้ามันต้องเป็นการซื้อ หรือลงทุนสำหรับระยะสั้นและระยะกลาง เพื่อจะได้เตรียมแผนที่จะจัดหาและเติมเต็มให้มัน จากนั้นก็เดินหน้าทำตามแผนเพื่อให้สามารถเริ่มต้นกอบกู้วิกฤต ในครั้งนี้ ได้ต่อไป
ทั้งนี้ เราก็มีเนื้อหาอื่นๆ ที่ช่วยให้ผ่านวิกฤติในครั้งนี้ได้ สามารถอ่านได้ที่ digital transformation ทางรอดจาก Covid-19 ยุคแพร่ระบาด และรวมไปถึงการเริ่มต้นด้วย digital transformation กับ Data Transformation คือพื้นฐานก่อนการต่อยอดไป Digital Transformation
เชี่ยวชาญเรื่อง eCommerce และ Digital Transformation เพราะมีประสบการณ์กว่า 10 ปี และยังเป็น Full Stack Developer รวมถึงประสบการณ์ด้าน Big Data Ecosystem , Blockchain Ecosystem ถามได้ปรึกษาได้ เป็นกันเอง และ จริงใจ 🙂