เริ่มต้นทำ Digital Transformation ต้องเริ่มที่คน

เริ่มต้น digital tranformation
เริ่มต้นทำ Digital Transformation ที่คนก่อน technology

การ เริ่มต้นทำ Digital Transformation นั้น ทาง Harvard Business Review กล่าวเอาไว้ว่า “Digital Transformation คือคน ไม่ใช่เทคโนโลยี”

Harvard Business Review ได้ออกบทความ ว่าด้วยเรื่องที่ทำให้หลายคนต้องปรับความคิด เริ่มต้นทำ Digital Transformation ซะใหม่ จากเดิม ที่คิดว่า มันคือการเอา Technology มาใช้งานในส่วนใดๆของธุรกิจ แต่เนื้อแท้จริงๆ มันคือการปรับเรื่อง mind set ของคนทำงานต่างหาก

เราปฏิเสธไม่ได้เลย ว่าสถานการณ์ Covid-19 ที่โลกเราเจอกันตอนนี้ เป็นตัวเร่งในการทำ Digital Transformation ให้เร็วมากขึ้น และ หนักมากขึ้นกว่าเดิม ที่เคยเป็น แต่หลายบริษัท ก็แอบสบายใจ หลังจากที่ตัวเองได้ปรับการทำงาน มาผ่าน internet แทน ก็คิดว่าตัวเองได้ทำ Digital Transformation เรียบร้อยแล้ว ตรงนี้ จะกลายเป็นกับดักทางความคิด ที่ทำให้ไม่ได้เริ่มต้นทำ Digital Transformation อย่างจริงจัง และถูกต้อง บทความนี้ เลยเน้นที่การปรับความเข้าใจ ต่อการทำ Digital Transformation ใหม่ เพื่อให้เริ่มต้นได้อย่างถูกต้อง

ต้องบอกว่า Digital Transformation นั้น จริงๆแล้ว ไม่ใช่แค่การหา technology มาใช้งาน และที่ถูกต้อง มันเกี่ยวกับเรื่องนี้ น้อยยิ่งกว่า เรื่องของคนทำงานซะอีก เพราะ technology เราต้องมองว่า มันเป็นแค่เครื่องมือ ประกอบ การทำ Digital Transformation เท่านั้น แต่ว่าสิ่งที่จะเกิดขึ้นจริงๆ มันเกิดจากคนทำงาน การพัฒนาความคิด และทักษะแบบใหม่ เพื่อที่จะไปสู่นวัตกรรม หรือ การทำงานแบบไหน ที่มีประสิทธิภาพกว่าเดิม

ทาง HBR ได้แนะนำถึงการเริ่มต้นทำ Digital Transformation เอาไว้เป็นหัวข้อดังนี้

ให้ความสำคัญกับคนเป็นสิ่งแรก

เริ่มต้นทำ Digital Transformation - ให้ความสำคัญกับคนก่อน technology
ให้ความสำคัญกับคนก่อน technology

Technology มันจะให้ผลลัพท์การปรับปรุงการทำงานที่ดีมาก ก็ต่อเมื่อ มันอยู่กับคนที่ใช้งานมันได้อย่างเหมาะสม พูดให้เห็นภาพคือ เราไม่ควรให้ลิงถือมีดเพื่อปอกผลไม้กินเอง เพราะมันจะโยนทิ้งแล้วใช้วิธีที่คุ้นเคยอย่างแน่นอน โดยปกติ การเปลี่ยนแปลงการทำงาน ก็ไม่ได้หมายความว่า ต้องเป็นการสร้างแนวทางการทำงานใหม่เสมอไป แต่บางครั้ง การยกเลิกการทำงานแบบเดิมที่เหมาะสม ก็ถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงการทำงานได้เหมือนกัน ดังนั้น เรื่องนี้ คนที่มีอำนาจ จะต้องเก็บไปคิดไตร่ตรองให้หนักแน่น ก็คือ ก่อนที่เราจะเลือกลงทุนใข้งาน Technology ใดๆ เราต้องไม่ลืมในการลงทุนกับคนที่จะสามารถใช้งานมันได้เป็นอย่างดีเสียก่อน

เน้น Soft skill

Photo by Anastasiya Gepp from Pexels

ตอนนี้ประเทศไทย กำลังประสบปัญหาเรื่องคนที่มีความสามารถในการทำงานด้าน Digital ที่มีไม่เพียงพอ โดยถ้าเรามองไปในตลาดแรงงาน เราก็จะเห็นหลักๆเลย คือ hard skill ที่ HR มองหา ตาม function งานนั้นๆ ที่เค้าต้องทำ แต่ว่ามันจะดีกว่า ถ้าเราลองเปลี่ยน วิธีการหาคนไปนิดหน่อย โดยมุ่งเน้นที่ soft skill มากกว่า hard skill เพราะการปรับธุรกิจเข้าไปสู่ยุค digital ได้ จะต้องประกอบด้วยข้อมูลจากการทำงานร่วมกันของหลายทีม หลายส่วน หลายรูปแบบ อีกทั้ง การเปลี่ยนแปลงของโลก digital ตลอดเวลา ก็ไม่ได้มีอะไรเป็นสิ่งที่ยืนยันว่า hard skill ต่างๆที่คนของเรามี จะใช้งานได้ต่อไปตลอด และรองรับการเปลี่ยนแปลงที่เราคาดเอาไม่ได้ในอนาคตด้วย

สิ่งที่จะดีกว่า ก็คือ พยายามมองหาคนที่มีการเรียนรู้ที่รวดเร็ว พร้อมที่จะปรับปรุงตัวตลอดเวลา และงานที่เรามีให้เค้าทำ ก็ตรงกับความต้องการของเค้าด้วย ถ้าเป็นแบบนี้แล้ว ไม่ว่ายุค digital จะเปลี่ยนไปเป็นยังไง รูปแบบไหน เครื่องมืออะไรใหม่มา คนเหล่านี้ ก็พร้อมที่จะสร้าง hard skill ใหม่ๆขึ้นมา เพื่อปรับกระบวนการทำงานได้เสมอ

สร้างความเปลี่ยนแปลงจากบนลงล่าง

Photo by Rebrand Cities from Pexels

ความเข้าใจโดยพื้นฐาน เวลาที่เราจะเปลี่ยนอะไร เราจะเปลี่ยนจากฐานล่าง ที่เป็นจำนวนมาก ขึ้นมาจนถึงยอดข้างบน ที่มีจำนวนน้อยกว่า เพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดมากๆ แต่แท้จริงแล้ว การเปลี่ยนแปลง จำนวนมากๆ จะเกิดขึ้นได้จาก ข้างบนที่มีจำนวนน้อยๆ ลงไปสู่ข้างล่างที่มีจำนวนมาก โดยอาศัยคนที่อยู่ข้างบน ส่งต่อลงไปที่คนข้างล่างต่างหาก

แต่เราไม่ได้กำลังพูดถึงบนลงล่าง ตามโครงสร้างองค์กร แต่เรากำลังพูดถึงเรื่องผู้นำที่มีผลกระทบกับคนจำนวนมากต่างหาก โดยเราต้องเอาคนที่สามารถสร้างผลกระทบต่อคนจำนวนมาก หรือ คนที่มีผลต่อจิตใจคนทำงานจำนวนมาก เข้ามาอบรม หรือปรับแนวความคิดเพื่อให้ภาพของเค้าชัดเจนมากพอที่สามารถส่งต่อให้คนอื่นได้

ถ้าได้ลงทุนให้กับคนเหล่านี้อย่างมากเพียงพอแล้ว การขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง ที่จะมีผลต่อคนจำนวนมากนั้นจะง่ายมากขึ้น และ ให้ผลลัพท์กลับคืนที่มากขึ้น กว่าการที่เราผลักดันจากล่างขึ้นข้างบนอย่างแน่นอน

หาคนเหล่านี้ให้เจอ train เค้าเหล่านี้ให้เหมาะสม และให้เค้าเป็นผู้นำในการถ่ายทอดต่อไป ท้ายที่สุด ผลลัพท์ที่ได้กลับคืน มันจะมากกว่าที่คาดหวังเอาไว้อย่างแน่นอน

ทำอะไร ควรมีข้อมูลเชิงลึกเพื่อตัดสินใจ

Photo by Lukas from Pexels

ตอนนี้ มีคำการตลาดมากมาย ไม่ว่าจะเป็น AI , Machine Learning, Deep learning บลาๆ ซึ่ง technology เหล่านั้น ใช้ข้อมูลเป็นพื้นฐานในการหาคำตอบในแต่ละคำถาม ซึ่งไม่ว่าจะเป็น technology เหล่านั้นหรือว่า คนทำก็ตาม ยังไงซะ เราก็ต้อง มีคนที่เข้าใจในการใช้งาน technology เหล่านี้ เพื่อที่จะหาประโยชน์จากข้อมูลเหล่านั้นออกมาได้อยู่ดี มีคำกล่าวเอาไว้ว่า data ที่ไม่มี ข้อมูลเชิงลึก เป็นข้อมูลที่ใช้ประโยชน์ได้น้อย และ ข้อมูลเชิงลึก ที่ไม่มีการเอาไปดำเนินการต่อนั้นไม่มีค่าอะไรเลย

แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า ต้องไปหา data science มาแล้วไปสร้าง model ดีๆ หรือ AI เจ๋งๆ หรือ ซื้อสิ่งเหล่านั้นมาใช้ ซึ่งผลที่ได้ ถูกหรือผิด เราก็ไม่รู้ เพราะเราไม่ได้เข้าใจมันอย่างจริงจัง ถ้าเรามองไปที่บริษัทใหญ๋ๆ อย่าง Google Amazon Facebook บริษัทเหล่านี้ แตกต่างจากบริษัทอื่นอย่างมากๆ ในการเอาข้อมูลที่มีทั้งหมด มาใช้ประโยชน์ โดยการสร้างวัฒนธรรมการทำงานแบบ data-driven อย่างเคร่งครัด และต่อเนื่อง และพัฒนาต่ออย่างไม่หยุดยั้ง จนเค้ามี algorithm (กระบวนการคำนวนทาง computer) ไปสู่การคีความ และ สร้างเงินได้ในท้ายที่สุด นี่เป็นกลยุทธ์ที่สำคัญมากๆ และถือว่าเป็นทรัพย์สินที่มีมูลค่าที่เค้าปกป้อง รักษา ตราบเท่าลมหายใจของธุรกิจเลยด้วย อีกทั้งนั่นไม่สามารถซื้อมาครอบครองได้ แต่เราสร้างขึ้นมาเอง ดูแล ทะนุถนอม เพื่อให้ใหญ่ขึ้น และเติบโตขึ้น และทั้งหมดนี้ ก็ควรใช้กับผู้นำ ที่ได้กล่าวไปในหัวข้อข้างบนนั่นเอง

ถ้ารับกับสถานการณ์ Fail Fast ไม่ได้ ต้องมั่นใจว่า จะสร้าง succeed slowly ได้

fail fast or succeed slowly
fail fast or succeed slowly

มีคำกล่าวว่า ความเร็วคือพระราชา, การลงมือทำคือหัวใจสำคัญ, ความสมบูรณ์แบบ คือศัตรู และคุณ ก็ต้องเปิดใจยอมรับ และไม่รังเกียจ fail fast (ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นโดยใช้เวลาก่อตัวไม่นาน) การที่เราจะปรับตัวเองให้เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วแบบต่อเนื่องได้ ต้องมีองค์ประกอบสองเรื่อง คือ ทำให้เร็วขึ้น ด้วยความเร็วที่สามารถปฏิบัติได้จริง

เราคงจะรู้กันอยู่แล้ว ว่า ความเร็วที่เพิ่มขึ้น เรามักจะสูญเสียคุณภาพตามลงไป ดังนั้น ถ้าเราไม่มั่นใจว่าเราจะรับกับความผิดพลาด ที่จะเกิดจากความเร็วนั้นได้ ก็ต้องทำเพื่อให้มั่นใจว่า เราช้าแล้วแต่เราจะสามารถประสบความสำเร็จได้ เหมือนกับคนที่เล่นเกมแพ้ตลอดทาง แต่มาพลิกเกมชนะได้ตอนสุดท้าย มันก็เหมือนกับเราเดิมพันเกมยาวเลยทีเดียว แต่ถ้าเราผิดพลาด นั่นแปลว่าเราจะได้เรียนรู้ และปรับตัวเพื่อเปลี่ยนให้มันดีขึ้นได้ทันที ไม่ต้องรอเกมยาวๆ

ถ้าเราเคยอ่านเรื่องที่ประสบความสำเร็จของคนหลายๆคน เราจะพบว่าทุกคนพูดตรงกันหมดว่า “ผมได้เรียนรู้จากความผิดพลาด” แต่ไม่มีใครเลย ที่ออกมาพูด่า “ผมได้เรียนรู้จากความสำเร็จ” และนั่นเป็นปัจจัยที่ทำให้เค้าประสบความสำเร็จได้ แล้วคุณจะมั่นใจได้ว่า คุณจะเป็นคนที่จะได้เรียนรู้จากการประสบความสำเร็จได้หรือ?

สุดท้ายนี้ Agile mindset ก็เป็นเรื่องที่สำคัญ ที่ทุกคนในองค์กรณ์ควรจะมีและเข้าใจร่วมกัน และ Agility นั้น มันก็คือเรื่องของคน โดยที่มี technology ช่วยสนับสนุนเท่านั้น การที่เรามีวิกฤติ Covid-19 ในตอนนี้ มันเป็นเพียงตัวกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ที่เร็วมากขึ้นเท่านั้น แต่ว่าเรื่องพื้นฐาน ก็ยังคงเป็นเรื่อง คนที่เรียนรู้ได้รวดเร็ว เพราะมี soft skill ที่ดี และมีข้อมูลมากเพียงพอที่จะตัดสินใจในการเปลี่ยนแปลง และต้องไม่กลัวต่อความผิดพลาด ที่จะทำให้เรียนรู้….. เป็นวงจรต่อเนื่องกันไป จึงจะช่วยยกระดับการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ให้ได้อย่างได้ผล

สำหรับคนที่ยังไม่ค่อยแน่ใจว่า Digital Transformation คืออะไร สามารถอ่านเพิ่มเติมจาก link ครับ