ที่วงการการเงินจะต้องปรับตัวเพราะว่าตอนนี้เราก็คงเคยได้ยิน Fintech กันมาอย่างยาวนานแต่ว่าด้วยยุคสมัยและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไป ตอนนี้ก็เป็นการมาถึงของ Techfin กันบ้างแล้ว
แน่นอน จุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงในเรื่องนี้ ก็คงไม่ใช่ใครอื่นไกลนอกจาก Covid-19 อย่างที่เรารู้กันว่า เจ้า Covid-19 เข้ามาเขย่าวงการธุรกิจหลายๆวงการเพื่อทำให้เกิด Digital Transformation อย่างตื่นตัวและรวดเร็ว ซึ่งผลกระทบก็เกิดจาก Fintech หลายๆเจ้าด้วย อย่างที่ Forbes ได้กล่าวเอาไว้ว่า “New normal นั้นคือจุดจบของการทดลอง Fintech” เพราะว่าหลายธนาคารใช้ Partner ที่ทำเรื่อง Fintech เพื่อเป็นตัวกระตุ้นให้ตัวธนาคารเองสร้างนวัตกรรมใหม่ขึ้นมา แทนที่จะรอให้ Transform ตัวเอง ซึ่งอาจจะช้า และใช้เวลานานมาก (เวลาเป็นเรื่องสำคัญ)
อย่างธนาคารในประเทศไทยก็ได้ตั้งหน่วยธุรกิจใหม่ขึ้นมา ที่ทำด้านเทคโนโลยีหรือ Fintech เป็นการเฉพาะ เช่น ธนาคารกสิกรไทยมี KBTG, ธนาคารไทยพาณิชย์มี SCB 10X, ธนาคารกรุงไทย มี IT Innovation Lab เป็นต้น
และข้อมูลจาก David G.W. Birch ที่เคยเข้าสัมมนาเรื่องการบริหารจัดการธุรกิจของธนาคารเมื่อไม่กี่ปีก่อนหน้านี้ ก็ได้บอกว่า ภาพง่ายๆ ของ Fintech จะไปสิ้นสุดที่ประมาณ 2020 นี่แหล่ะ เพราะว่าจากนั้น core bank ก็จะปรับตัวตามมาทัน เค้ายังคาดเดาเอาไว้ว่า ยุคต่อไป ก็คือยุคของ open banking นั่นเอง โดยมีร่องรอยอยู่ ก็คือ Visa ซื้อ Plaid ในขณะที่ Mastercard ซื้อ Fincity
แต่อย่างไรก็ตามการมาถึงยุคของ Open Banking นั้นก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่มี Fintech อีกต่อไป เพราะว่าในเมื่อ Core banking ได้ปรับตัวเองมาถึงจุดที่เปิดให้มีการเข้าถึงข้อมูลจากภายนอกผ่าน standard interface แล้ว Fintech ก็จะมีการปรับตัวเองไปทำเรื่องอื่นเช่นมุ่งเน้นการสร้าง customer experience หรือสร้างสินค้าและบริการใหม่ๆออกมาสู่ตลาดโดยการประยุกต์ใช้ Open Banking อีกทีนั่นเอง
ใน techUK webinar กล่าวเอาไว้ว่า UK open banking infrastructure ได้มีการเชื่อมต่อ API สำเร็จไปแล้ว 98% การเชื่อมต่อเหล่านั้นก็ถูกนำไปสร้างการให้บริการอีกระดับหนึ่ง เรียกว่า “overlay” ซึ่งเจ้าบริการที่เรียกว่า “overlay” นี่แหละที่จะทำให้เกิดการแข่งขันในรอบใหม่ เพราะว่าบริษัทที่เป็นบริษัท Tech ทั้งหลายก็จะเริ่มเชื่อมต่อ open banking เพื่อเอามาสร้างบริการต่างๆในรูปแบบใหม่ และนั่งก็จะเป็นที่มาของ Techfin ที่ไม่ใช่ Fintech อีกต่อไป
Techfin คืออะไร
Techfin ชื่อบริษัทเทคโนโลยี่ที่มีการเชื่อมต่อบริการทางด้านการเงิน ที่ตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้ามากขึ้น โดย Business Model ไม่ได้อิงกับกำไรจากการให้บริการสินค้าและบริการเหล่านั้น เหมือนอย่างที่ Amazon มี payment gateway เป็นของตัวเอง เพื่อสร้างกำไรจากการขายสินค้า แต่ว่าสร้างรายได้ และกำไรมาจาก สินค้าและบริการที่สร้างขึ้นมาใหม่ในด้าน Financial service โดยเฉพาะ เช่น Transferwire ที่เป็นบริการโอนเงิน และได้ค่าธุรกรรมจากการโอนเงิน
การเป็น Techfin ก็มีข้อดีกว่าการเป็น ธนาคารอยู่มาก เพราะว่าไม่ต้องไปทำในส่วนที่น่าเบื่อหรือพวกงานเอกสารต่างๆที่ต้องว่าไปตามข้อกำหนดต่างๆมากมาย (อย่างไทยก็ภายใต้ ธปท หรือ กลต) รวมถึงไม่จำเป็นต้องมี legacy infrastructure เช่น สาขา หรือระบบ core bank ทำให้ต้นทุนต่ำลงและไปมุ่งเน้นการให้บริการลูกค้าเพื่อให้ครบวงจรมากกว่า ยกตัวอย่างให้เห็นภาพง่ายๆหากเราเคยใช้งาน Google Pay เขาก็จะเห็นข้อมูล Transaction ที่เราใช้บริการกับเค้าทั้งหมด โดยที่ Google Pay ไม่ต้องมี core bank ของตัวเองเลย
ค่อนข้างชัดเจนว่า รายได้ และ กำไรหลักๆที่ Techfin จะได้รับ ไม่ได้มาจากเงินของผู้ใช้บริการโดยตรง แต่มันคือข้อมูลต่างหาก โดยข้อมูลนี้ก็จะถูกแบ่งปันเพื่อจะช่วยสร้างความได้เปรียบให้เหนือกว่าคู่แข่ง หรือเป็นกำแพงกั้นคู่แข่งหน้าใหม่ที่จะเข้ามาแย่งส่วนแบ่งทางการตลาด ถ้าจะยกตัวอย่างให้เห็นภาพง่ายๆ ก็คือ Google มีแผนที่จะเพิ่มปุ่ม “Merchant buttons” ใน Google Pay (เป็นปุ่มที่ทำให้ลูกค้าจ่ายเงิน ใน application ของ Google ได้ทันที โดยไม่ต้องออกจาก google application ที่ใช้งานอยู่ เพื่อไปจ่ายผ่านช่องทางอื่น ตามที่ร้านค้ากำหนดเอง เป้าหมายเพื่อเพิ่มความสะดวกให้ลูกค้ามากขึ้น) หรืออีกตัวอย่างก็คือ WeChat “mini-program” ที่สามารถใช้งาน Application เพื่อเรียกแท็กซี่ จองตั๋ว เล่นเกม จัดการคะแนน CRM, และ Application อื่นๆอีกมากมายที่ผู้ใช้บริการสามารถใช้ได้โดยไม่ต้องออกจาก wallet App เลย
ถ้าวันหนึ่งที่ Big Tech ทั้งหลายเข้ามาให้บริการเป็นด่านหน้าของลูกค้าแทนธนาคารทั้งหมดแล้ว ธนาคารก็คงไม่เหลือกำไรอีก แต่นั่นยังไม่น่าเป็นห่วงเท่ากับธนาคารจะไม่เหลือ data เป็นของตัวเองอีกต่อไป มีงานวิจัย A National Bureau of Economic Research paper (by Brunnermeier, James et al. 2019) อธิบายว่าทำไม platform ทั้งหลายเริ่มให้ความสำคัญกับการชำระเงิน อย่างที่เราก็เคยได้ยินว่า Facebook กำลังจะสร้าง Libra เพื่อการชำระเงิน เพราะปัจจุบัน ธนาคารก็จะไม่ได้ data อะไรเลยถ้าไม่มีการซื้อขายเกิดขึ้น ซึ่งหากไม่มี data ก็หมายความว่า ธนาคารจะมีข้อมูลของแต่ละคนไม่เพียงพอ สำหรับการคิดคำนวน credit ความน่าเชื่อถือ หรือ เพื่อใช้บริหารความเสี่ยงของธนาคารเอง
ช่วงเดือนที่ผ่านมาเราจึงเห็นว่า ธนาคารไทยพาณิชย์ (โดย SCB 10X) เตรียมออก Robinhood platform ซึ่งเป็น Platform food delivery เหมือนอย่าง Grab โดยมีจุดเด่นที่ไม่เก็บค่าขนส่ง (หรือเก็บก็น้อยมาก) โดยในข่าวก็ให้สัมภาษณ์อย่างชัดเจน ว่าร้านค้าก็จะสามารถขอสินเชื่อผ่าน platform ได้เลย (เนื่องจากข้อมูล Transaction ต่างๆ จะถูกใช้เพื่อประเมินการปล่อยสินเชื่อของร้านค้านั่นแหล่ะ) ห่างกันไม่ถึง 2 อาทิตย์ ธนาคารกสิกรไทย (โดย KBTG) ก็เตรียมเปิดด้วย Eatable ซึ่งก็เปลี่ยนแนวทางหลัก ไปเน้นที่การ order ที่ร้านโดยตรง คือยิง QR จากที่โต๊ะ และ สั่ง delivery ได้ แต่หลักใหญ่ใจความก็ยังวนๆเรื่อง order & delivery นั่นแหล่ะ (แม้ว่าจะเพิ่ม feature นู่นนี่นั่นเข้าไปก็ตามที) รวมไปถึง K+ Market ที่เคยเปิดมาได้พักนึงแล้ว นั่นก็เป็นงานหนึ่งของ Techfin ที่ก้าวเข้ามาทำเช่นกัน แม้ว่าตอนนี้ Open Banking ในไทยจะยังไม่เปิดเป็น public ให้ใช้งานก็ตาม (สถานะเป็น sandbox ในหลายธนาคาร) แต่ว่า ก็เริ่มมีปรากฏการณ์ techfin ให้เห็นกันบ้างแล้ว
นี่ก็เป็นอีกก้าวของการปรับตัว ต่อไป ก็ดูว่า ประเทศไทย จะเปิด Open Banking ได้หรือไม่ หรือว่าแต่ละธนาคารจะทำ Techfin เอง เพื่อกินรวบเอง เวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์ ทั้งนี้ ธปท ก็คงเป็นหน่วยงานเดียว ที่จะช่วยผลักดันได้ เพื่อให้เกิดการแข่งขันโดยเท่าเทียมกัน
ref: https://www.forbes.com/sites/davidbirch/2020/06/26/bye-fintech-hello-techfin/
เชี่ยวชาญเรื่อง eCommerce และ Digital Transformation เพราะมีประสบการณ์กว่า 10 ปี และยังเป็น Full Stack Developer รวมถึงประสบการณ์ด้าน Big Data Ecosystem , Blockchain Ecosystem ถามได้ปรึกษาได้ เป็นกันเอง และ จริงใจ 🙂