digital transformation ทางรอดจาก Covid-19 ที่บังคับให้เราต้องเริ่มทำการอัพเดทหรือ การอัพเกรดในด้านระบบของไอที ซึ่งตอนนี้มันก็ไม่ใช่เป็นเพียงแค่คำพูดเก๋ๆ แต่มันคือการนำไปสู่หนทางใหม่ๆที่ไม่มีข้อจำกัดในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน หรือการก้าวขึ้นเป็นผู้นำในอุตสาหกรรม แต่ถึงยังไงก็ตามถ้าพูดถึงในยุคการแพร่ระบาดที่เกิดขึ้นในตอนนี้ เครื่องมือนี้มันถูกใช้เป็นเครื่องมือที่ทำให้เอาตัวรอดได้
บริษัทต่างๆถูกแรงกดดันให้ต้องมีการทำงานที่รวดเร็วมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นห้างค้าปลีกที่เป็นตัวห้างและมีสาขา ก็ต้องย้ายจากออฟไลน์ขึ้นมาเป็นออนไลน์ รวมถึงการประยุกต์เอาเทคโนโลยีต่างๆเข้ามาใช้ จากเดิมที่ใช้เวลาหลายเดือน ก็เหลือมาเป็นแค่ไม่กี่สัปดาห์หรือไม่กี่วันเท่านั้น
วันนี้เรานำเสนอความเห็นจาก Chris Byers ซึ่งเป็น CDO ของ Formstack ที่ตอนนี้บริษัทให้บริการระบบ workflow ไปมากกว่า 22,000 บริษัททั่วโลก เช่น Cleveland Clinic, the NHL, Netflix, Twitter โดยจะมาแนะนำว่าในยุคการแพร่ระบาดที่เกิดขึ้นอยู่ในตอนนี้เราจะสามารถทำ Digital transformation ได้อย่างไรเพื่อเร่งความเร็วให้มากขึ้นได้
อะไรที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงได้มากที่สุดให้กับบริษัทขนาดใหญ่
ความแข็งแรงของบริษัท เรื่องแรกและเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด ก็คือการสร้างความเปลี่ยนแปลงแก้ไขในจุดที่ยังมีความอ่อนแออยู่ สถานการณ์ความไม่ปกตินี้ จุดอ่อนต่างๆมันจะขยายตัวได้รวดเร็วมากขึ้นกว่าปกติ และไม่ว่าเรื่องอะไรที่มีอยู่แล้วก็ตามเช่น ความสัมพันธ์ที่ไม่ค่อยดี, สภาพคล่องที่ไม่ค่อยดี สิ่งเหล่านี้มันจะลุกลามเป็นเรื่องแรกๆ
ประสบการณ์ในงาน ตอนนี้พนักงานก็ทำงานจากที่บ้านกัน บริษัทก็จำเป็นจะต้องเชื่อมต่อกันในรูปแบบดิจิตอล สิ่งนี้มีความจำเป็นอย่างมากที่จะ ต้องปรับการทำงานหรือลดบางขั้นตอนจากที่มีอยู่เดิมออกไป เพื่อให้ตอบสนองต่อการทำงานจากที่บ้านได้ เช่น ลดงานเอกสารหรือเปลี่ยนให้มาเป็นเอกสารในรูปแบบ Digital เพิ่มระบบงานอัตโนมัติ เพื่อให้สามารถเดินงานส่วนต่างๆต่อเนื่องกันได้ สำหรับบริษัทไหนที่ยังไม่มีเรื่องพวกนี้ก็ควรที่จะต้องยกเครื่องการทำงานในรูปแบบนี้ขึ้นมาได้แล้ว
ความคาดหวังของลูกค้าและประสบการณ์ของลูกค้า ไม่ว่าจะเป็นค้าปลีกหรือจะเป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ ตอนนี้ต่างก็ ถูกสร้างระยะห่างระหว่างกันให้มากขึ้นหรือที่เราได้ยินกันว่า Social Distance ดังนั้นนวัตกรรมที่สร้างขึ้นมา จึงต้องตอบสนองการใช้งานของผู้ใช้งาน หรือให้ใช้งานได้ง่ายด้วย และควรจะเป็นสิ่งที่ไม่ต้องสัมผัสหรือจับร่วมกันเพื่อลดความเสี่ยงระหว่างลูกค้าและผู้ให้บริกา รอีกทั้งยังทำให้ความรู้สึกของผู้มาใช้บริการรู้สึกสะอาดและปลอดภัยมากขึ้นอีก ตัวอย่าง ธนาคารที่จำเป็นต้องมีการทำธุรกรรมโดยตรงกับเจ้าของบัญชี ก็อาจจะเปลี่ยนมาให้บริการทางด้านดิจิตอลให้มากขึ้น หรือทำให้ฉลาดมากขึ้น แต่ถ้าจะว่ากันจริงๆแล้ว ความต้องการของลูกค้าในด้านการให้บริการผ่านเครื่องมือทาง Digital นั้นก็เป็นความคาดหวังมาตั้งแต่ก่อนเกิดการระบาดอยู่แล้วแหละ เพียงแต่ว่าบริษัทส่วนใหญ่ยังไม่สามารถตอบสนองลูกค้าได้ เท่านั้นเองและถ้าเราไม่เริ่มทำตอนนี้ หลังจากที่ผ่านการแพร่ระบาดในรอบนี้ไป บริษัทก็จะยิ่งสูญเสียลูกค้าที่มีความต้องการในเรื่องนี้มากขึ้นไปอีก
อะไรที่จะสร้างความเปลี่ยนแปลงได้มากที่สุดให้กับบริษัทขนาดกลางและเล็ก
ขาดเงินลงทุน จริงๆแล้วบริษัทขนาดกลางและเล็ก ก็มีความท้าทายที่ไม่ได้ต่างจากบริษัทใหญ่ แต่บริษัทขนาดกลางจะขาดเงินลงทุนในวิกฤตครั้งนี้มากกว่าบริษัทใหญ่ เพราะบริษัทใหญ่ยังสามารถปรับลดค่าใช้จ่ายส่วนที่ไม่สำคัญลงได้ รวมทั้งยังมีความสัมพันธ์อันดีกับธนาคาร และ นักลงทุน จะสามารถทำให้บริษัทใหญ่เดินต่อไปได้ในอีกระยะใหญ่ๆ แต่ถ้าพูดถึงบริษัทขนาดกลางและขนาดเล็ก การปรับลดต้นทุนในส่วนที่ไม่ได้ใช้ อาจจะหมายถึงการปิดบริษัทไปเลย ป้องกันเหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นบริษัทเหล่านี้ควรใช้ระบบที่เป็นดิจิตอลทั้งหมด เพื่อลดขั้นตอนที่ยุ่งยากในการทำงาน ลดคนที่ต้องใช้งาน และ สามารถรองรับการเติบโตของธุรกิจได้โดยไม่จำเป็นต้องรอวิกฤติให้เกิดขึ้นก่อน
อะไรคือความสำคัญในการสร้างประสิทธิภาพ การทำงานร่วมกัน และเครื่องมือที่เหมาะสมของบริษัทตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่
ชุดเครื่องมือทางด้านดิจิตอล จริงๆทุกวันนี้ในโลกดิจิตอลเราก็ใช้เครื่องมือหลายๆอย่างที่เหมือนๆกัน โดยเราจำเป็นจะต้องมีเครื่องมือที่ประกอบด้วย การสื่อสารการ, จัดตาราง, การบริหารโครงการ, การแบ่งปันไฟล์ และ พื้นที่เก็บไฟล์ ที่นี้บริษัทเล็กและบริษัทใหญ่ ก็สามารถเลือกใช้เครื่องมือต่างๆที่มีองค์ประกอบข้างต้นได้ เพราะมีให้เลือกอย่างมากมาย สิ่งที่แนะนำก็คือให้ใช้บริการแบบ SaaS (software as a service) เพราะเราจะสามารถทดลองใช้งานเพื่อดูว่าเหมาะสมหรือเปล่า อีกทั้งยังใช้งบไม่มากเลยตอนที่เริ่มต้นใช้งานด้วย
ปัจจัยอะไรที่จะสามารถเร่งการทำ Digital transformation ได้
ดิจิตอลทรานฟอร์เมชั่นคือสิ่งที่ทำให้ธุรกิจอยู่รอด ในสถานการณ์ปกติของธุรกิจ Digital transformation คือสิ่งที่ทำให้เราคิดก้าวไปข้างหน้า แต่ในสถานการณ์การแพร่ระบาดในตอนนี้ Digital transformation คือเครื่องมือที่จะทำให้อยู่รอดได้ เช่น ประเทศเอสโตเนีย รัฐบาลสามารถให้บริการธุรกรรมต่างๆได้อย่างไร้รอยต่อและต่อเนื่อง เพราะว่ารัฐบาลได้เปลี่ยนตัวเองเป็นดิจิตอลมานานหลายปีแล้ว
ในสถานการณ์ตอนนี้อย่างน้อยที่สุดก็ต้องมีการเริ่มเดินหน้าหรือใช้งานบางส่วนหรือเต็มตัวได้ก็จะดี รวมไปถึงต้องมีการปรับการทำงานให้เป็นรูปแบบ Digital มากขึ้น นำเทคโนโลยีต่างๆเข้ามาใช้มากขึ้น เพื่อมุ่งไปสู่การทำดิจิตอลทรานฟอร์เมชั่นอันเป็นหนทางรอดของธุรกิจ แต่อย่างไรก็ตามนี่ไม่ใช่การทำงานเพียงแค่เฉพาะช่วงการแพร่ระบาดนี้ เราต้องคิดถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นให้รอบด้านด้วย ตั้งแต่ลูกค้าจนถึงผู้บริหารระดับสูง การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้มันอาจจะเป็นการเปลี่ยนแปลงถาวรได้ด้วยเช่นกัน ก็อย่างที่เรารู้กัน ถ้าถามถึงความต้องการของลูกค้าเขาต้องการการให้บริการผ่านช่องทางดิจิตอลมาตั้งนานแล้ว
ดังนั้น digital transformation ทางรอดจาก Covid-19 ไม่ใช่แค่เฉพาะตอนวิกฤต แต่มันจะเป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นหลังจากที่ผ่านวิกฤติไปด้วย ดังนั้นการจะทำอะไรก็ลองคิดถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในระยะสั้นและระยะยาวไปพร้อมกัน มันอาจจะดูเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าพี่สามารถแก้ได้ทันตอนวิกฤติ และหลังจากที่หมดวิกฤติแล้วด้วยเช่นกัน เรียกได้ว่า ยิงปืนนัดเดียว ได้นกสองตัวเลย
และนอกเหนือจากนี้ เราอยากให้ทุกคนฟัง ความเห็นจาก CIO ควรทำอะไร ในวิกฤติการแพร่ระบาดครั้งใหญ่ เพื่อเป็นแนวทางในการปรับตัวเพิ่มเติมอีกด้วย
เชี่ยวชาญเรื่อง eCommerce และ Digital Transformation เพราะมีประสบการณ์กว่า 10 ปี และยังเป็น Full Stack Developer รวมถึงประสบการณ์ด้าน Big Data Ecosystem , Blockchain Ecosystem ถามได้ปรึกษาได้ เป็นกันเอง และ จริงใจ 🙂